วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการเศรษฐกิจพอเพียง


ความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัย ในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและ
กว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบทและช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ
" พอมีพอกิน "และมีความอิสระที่จะอยู๋ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์
ทรงวิเคราะห์ ์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริม สร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดํารัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทํามาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้
" .... ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้นจะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้
บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรงด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทําการ
เกษตรได้ และค้าขายได้.... "
ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทําให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนใน
แนวพระราชดําริของ " เศรษฐกิจพอเพียง " ซึ่งบได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพึ่งพายึดติดอยู่กับ
กระแสจากภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงําความคติดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยาน
บนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกินขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือด
ร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น " เศรษฐกิจพอเพียง " จึงได้สื่อความหมาย ความสําคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ
ในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ
การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคมตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและ
ขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปร
รูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขายสะสมทุน ฯลฯ บนพื้นฐานเครือข่าย
เศรษฐกิจชุมชนนี้ เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มี่อยู่ภายในชาติและทั้งที่จะพึง
คัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทําให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจําเป็นที่ทําได้โดยตัวเอง
ไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนําไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะ
เป็นสินค้าส่งออกเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือวิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพ
ของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ " จิตวิญญาณ "คือ " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า "
ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลําดับความสําคัญของ " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า "มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ
เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จํากัดซึ่งไร้ขอบเขตถ้าไม่สามรถควบคุม
ได้การใช้ทรพัยากรอย่างทําลายล้างจะรวดเร็วและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหา
ความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข( Maximization
of Satisfaction ) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกําไร ( Our loss is our gain ) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จํากัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง
" คุณค่า " จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทําลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น " ความอยาก
ที่ไม่มีที่สิ้นสุด " และขจัดความสําคัญของ " เงิน " ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกําหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็น
ตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้
้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ ( Demonstration Effects ) จะไม่ทําให้เกิดการสูญเสียจะทําให้
ไม่เกิดการบริโภคเกิน ( Over Consumption ) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนา
ที่มา : http://www.bpp.go.th/project/project_19.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น